ภารกิจพิเศษ วิเคราะห์วรรณกรรม เรื่องแก้วหน้าม้า
วรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง แก้วหน้าม้า
สรุปเนื้อเรื่อง
มีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “ มิถิลา ” เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์ทรงพระนามว่า “ ภูวดลมงคลราช ” พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่า “ พระนางนันทา ” ทั้งสองพระองค์ มีพระโอรสทรงพระนามว่า “ ปิ่นทอง” พระนครเจริญรุ่งเรืองและสงบสุข นางแก้วหน้าม้าเป็นธิดาสามัญชนชาวเมืองมิถิลา เหตุที่นางมีชื่อเช่นนี้เพราะก่อนตั้งครรภ์ผู้เป็นมารดาได้ฝันว่าเทวดานำแก้วมาให้ พอให้กำเนิดบุตรสาวเลยตั้งชื่อว่า “แก้ว” แต่เนื่องจากใบหน้าเหมือนม้า ชาวบ้านเรียกว่า นางแก้วหน้าม้า พระปิ่นทองนั้นมีรูปลักษณ์ที่สวยอย่างชายชาตรีและเป็นคนที่มีนิสัยดื้อรั้งโดยจะทำให้พระบิดาและพระมารดาปวดหัวอยู่เสมอ มีวันหนึ่งพระปิ่นทองได้มาขออนุญาติพระบิดากับพระมารดาออกไปเล่นว่าวที่ทุ่งพระบิดามารดาก็ได้อนุญาติ พระปิ่นทองได้ออกมาเล่นว่าวซึ่งลมแรงมาก ว่าวของพระปิ่นทองได้หลุดมือและปลิวไปไกลทำให้ทหารที่มากับพระปิ่นทองวิ่งตามว่าว ซึ่งนางแก้วหน้าได้เก็บว่าวได้แล้ววิ่งหนี เมื่อนางเห็นว่าวรูปร่างลักษณะดีก็ตัดสินใจยึดเป็นของตนเองแต่เพียงอึดใจต่อมา เมื่อเจ้าชายเสด็จมาถึงที่นั้นและได้ยินแก้วพูดก็ทรงโกรธมาก และคิดว่าหญิงผู้นี้พูดจาโยกโย้น่ารำคาญ พระองค์เกลียดนางยิ่งนักเมื่อเห็นนางมีใบหน้าที่ประหลาด แต่ด้วยความที่อยากได้ว่าวของตนคืนจึงแกล้งทำดีกับนางไปอย่างนั้นเองและได้สัญญากับนางว่าจะให้นางเข้าไปอยู่ในวังด้วย รออยู่หลายวันไม่เห็นพระปิ่นทองมารับ นางแก้วจึงเล่าเรื่องให้พ่อกับแม่ฟัง และขอให้ไปทวงสัญญา เมื่อพ่อแม่ไปทวงสัญญากับพระปิ่น ท้าวภูวดลกริ้วตรัสให้นำตัวไปประหาร แต่พระนางนันทาได้ทัดทานพร้อมเรียกพระโอรสมาสอบถาม พระปิ่นทองยอมรับว่าสัญญาว่าจะให้นางเข้ามาอยู่ในวังเมื่อพระปิ่นทองสัญญาแล้วพระนางนันทาสั่งให้ไปรับตัวนางแก้วมาอยู่ในวัง ครั้งไม่มีวอทองมารับสมกับตำแหน่งมเหสี นางแก้วก็ไม่ยอมไป จนในที่สุดนางแก้วได้นั่งในวอทอง พร้อมกับแต่งตัวสวยพริ้ง พอมาถึงวังหลวง ท้าวภูวดลกับพระปิ่นทองเห็นนางแก้วรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด กริยามารยาทกระโดกกระเดกก็ทนไม่ได้ คิดหาทางกำจัดนางแก้ว แต่พระนางนันทานึกเอ็นดู นางแก้วเข้าวังมาไม่นาน ท้าวภูวดลกับพระปิ่นทองหาทางกำจัดนางแก้ว โดยให้นางแก้วไปยกเขาพระสุเมรุมาไว้ในเมืองภายใน 7 วัน หากทำไม่สำเร็จจะต้องได้รับโทษประหาร แต่ถ้าทำได้จะจัดพิธีอภิเษกสมรสกับพระปิ่นทอง นางแก้วออกไปตามป่า เสี่ยงสัตย์อธิษฐานกับเหล่าทวยเทพว่าหากตนเป็นเนื้อคู่ของพระปิ่นทอง ขอให้พบเขาพระสุเมรุ เดินทางต่อไปอีกสามวัน พบพระฤาษีรีบเข้าไปกราบและเล่าเรื่องราวทั้งหมด พระฤาษีมีใจเมตตาจึงช่วยถอดหน้าม้าออกให้นางแก้วกลายเป็นหญิงที่งดงามโสภา แล้วเสกหนังสือเป็นเรือเหาะให้ลำหนึ่งพร้อมมอบอีโต้ไว้เป็นอาวุธ นางแก้วจึงสามารถไปยกเขาพระสุเมรุมาถวายท้าวภูวดลได้สำเร็จ ท้าวภูวดลพยายามหาหนทางที่จะเลี่ยงคำสัญญาเลยมอบให้พระปิ่นทองเดินทางไปอภิเษกกับเจ้าหญิงทัศมาลี ราชธิดาของท้าวพรหมทัต ก่อนเดินทางไป พระปิ่นทองกล่าวว่า ถ้ากลับมานางยังไม่มีลูกจะถูกประหาร นางแก้วนั่งเรือเหาะตามพระปิ่นทองไปแล้วถอดหน้าม้าออก ไปขออาศัยอยู่กับสองตายายในป่า เมื่อพระปิ่นทองผ่านมา นางแก้วก็ไปอาบน้ำที่ท่า พระปิ่นทองเห็นเข้าเกิดหลงรัก และไปเกี้ยวพาราณสี จนได้นางแก้วเป็นเมีย ต่อมานางแก้วตั้งครรภ์ พระปิ่นทองต้องการกลับกรุงมิถิลาและได้มอบแหวนให้นางแก้วเพื่อยืนยันว่าเด็กในท้องนางแก้วเป็นลูกของพระปิ่นทองจริ ขณะเดินทางกลับกรุงมิถิลา ระหว่างอยู่ในทะเลย เรือสำเภาของพระปิ่นทองถูกมรสุมพัดเข้าไปในถิ่นยักษ์ นางแก้วคลอดบุตรชายชื่อว่า “ปิ่นแก้ว” ก็คิดจะพาลูกกลับไปหาพระปิ่นทอง โดยได้แวะไปลาพระฤาษี พระฤาษีบอกนางแก้วว่า พระปิ่นทองอยู่ในอันตราย นางแก้วฝากลูกไว้กับพระฤาษีแล้วแปลงร่างเป็นผู้ชายขึ้นเรือเหาะไปรบกับท้าวพาลราช เจ้าเมืองยักษ์ จนได้รับชัยชนะ แก้วมารอพระปิ่นทองพร้อมกับอุ้มลูกที่ฤาษีตั้งชื่อไว้ว่าพระปิ่นแก้ว พระปิ่นทองหาว่าแก้วหลอกว่าเป็นลูกตนแต่เมื่อเห็นแหวนที่ตนให้ไว้ก็พูดไม่ออก กล่าวถึงท้าวกายมาต ที่เป็นญาติกับท้าวพาลราชที่ถูกแห้วสังหาร เมื่อทราบเรื่องก็เกิดความแค้นยกไพร่พลยักษ์มาล้อมเมืองมิถิลา พระปิ่นทองตามไปงอนง้อนางแก้ว แต่แก้วก็ยังเล่นตัว จนพระปิ่นทองทำท่าจะเชือดคอตายแก้วจึงยอมถอดหน้าม้า สร้างยินดีให้กับทุกคน พิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นอย่างเอิกเกริก ไม่นานแก้วก็ตั้งครรภ์ ท้าวประกายกรดรู้ข่าวท้าวประกายมาตถูกฆ่าตายก็แค้น คิดจะบุกเมืองมิถิลาท้าวประกายกรดบุกเมืองมิถิลา ประชาชนแตกตื่นกันทั่ว พระปิ่นแก้วยกทัพไปสู้กับพวกยักษ์แต่สู้ไม่ได้ ต้องถอยร่น แก้วจำต้องออกไปสู้กับยักษ์ ทั้งๆที่ตั้งครรภ์ แก้วที่ท้องแก่สู้กับท้าวประกายกรด ถูกท้าวประกายกรดถีบ แก้วเจ็บท้อง คลอดพระธิดาออกมา 3 องค์ ท้าวประกายกรดตกใจมากที่รู้ว่าแก้วเป็นหญิง แก้วใช้ผ้าเปื้อนเลือดฟาดเข้าใส่ ทำให้มนต์ยักษ์เสื่อม ท้าวประกายกรดถูกฆ่าตาย เมืองมิถิลากลับสู่ความสงบตั้งแต่นั้นมา
1. ที่มา เรื่องแก้วหน้าม้า
บทละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า เป็นวรรณคดีพระราชนิพนธ์ ของกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระราชโอรสลำดับที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาศิลา พระนิพนธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3
ผู้แต่ง (ต้นฉบับ)
กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
ต้นฉบับหนังสือ
ต้นฉบับบทละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ ส่วนภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติ ลักษณะเป็นสมุดฝรั่ง ตัวพิมพ์ดีด อักขรวิธีที่ใช้เป็นอย่างเก่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีจำนวนทั้งหมด ๖ เล่ม
ปีที่พิมพ์
พิมพ์เผยแพร่เป็นอักษรไทยเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ ความยาว ๔๘๐ หน้า
ผู้แต่ง/เรียบเรียง (รวมนิทานอีสานชุดที่ 3)
เตชวโรภิกขุ (อินตา กวีวงศ์)
ปีที่พิมพ์
2544
จัดพิมพ์และจำหน่ายที่
บริษัท ขอนแก่น คลังนานาธรรม จำกัด
โทร 043-221591,221346 กด 0
พิมพ์ที่่
หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา
โทร. 043-32858991
2.วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
2.1.ชื่อเรื่อง วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
" แก้ว" น.หมายถึง หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย แต่ สำหรับแก้วในเรื่องนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้"แก้ว" หมายถึงชื่อตัวละครตัวนางของเรื่อง " หน้า " หมายถึง น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง " ม้า " หมายถึงน. สัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ใช้เป็นพาหนะขับขี่และเทียมรถเครื่องรองนั่งและรอง สิ่งของรูปสี่เหลี่ยม มีขาตัวลายเป็นจุดสีน้ำตาล พื้นขาว
ดังนั้น นิทานเรื่อง "แก้วหน้าม้า" จึงมาจากชื่อของตังละครเอก คือตัวนางของเรื่องที่มีรูปหน้าเป็นม้า ที่ปรากฎไว้ในตัวบท ซึ่งผู้แต่งก็ต้องการจะเน้นย้ำให้ผู้อ่านเห็นลักษณะพิเศษที่ผิดแปลกไปจากเรื่องอื่นของตัวนาง
2.2.แก่นเรื่อง
"อย่ามองคนแค่เพียงภายนอก คนดีไม่ใช่ดูที่รูปร่างหน้าตา แต่ดูที่นิสัยและจิตใจ”
2.3.โครงเรื่อง
การเปิดเรื่อง
ปมเรื่อง
พระปิ่นทองตกลงรับปากกับนางแก้วหน้าม้าว่าจะรับนางไปเป็นพระมเหสีที่เมืองมิถิลา
การดำเนินเรื่อง
1. พระปิ่นทองออกมาเล่นว่าวด้านนอกพระราชวัง ว่าวพระปิ่นทองเกิดสายป่านขาดลอยไปตกที่ทุ่งนา
2. นางแก้วมณีเห็นจึง เก็บกลับไปไว้ที่บ้าน
3. เมื่อพระปิ่นทองมาขอว่าวคืนนางแก้วได้ขอให้พระปิ่นทองรับตนเองไปเป็นพระมเหสี ด้วยความอยากได้ว่าวคืนพระปิ่นทองจึงตกปากรับคำไปส่งเดช
4. นางแก้วมณีก็ได้เข้าไปอยู่ในวังแต่ก็ต้องถูกกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา
5.ท้าวภูวดลให้นางแก้วมณีไปตัดเขาพระสุเมรุ ระหว่างทางก็ได้พระฤๅษีช่วยและพระฤๅษีนี้เองเป็นผู้ที่ถอดหน้าม้าและมอบเรือเหาะกับมีดโต้วิเศษไว้ให้
6.เมื่อได้เขาพระสุเมรุกลับมาท้าวภูวดลสั่งให้พระปิ่นทองเดินทางไปยังเมืองโรมวิถีเพื่ออภิเษกกับเจ้าหญิงทัศมาลี
7.นางแก้วมณีจึงนั่งเรือเหาะไปขออาศัยอยู่ที่กระท่อมกับสองตายายในป่าชานเมืองโรมวิถี พร้อมกับถอดรูปม้าออกกลายเป็นหญิงสาวแสนสวยชื่อมณีรัตนา
8.จนในที่สุดพระปิ่นทองก็ตกหลุมรักและอยู่กินด้วยกันช่วงหนึ่งจนมณีรัตนาท้อง
9.พระปิ่นทองจึงมอบแหวนประจำพระองค์ไว้ให้ก่อนจากกัน ระหว่างทางพระปิ่นทองได้สู้กับยักษ์ชื่อท้าวพาลราช
10.ฝ่ายแก้วมณีเมื่อทราบความจากพระฤๅษีก็แปลงกายเป็นชายชื่อเจ้าแก้วนั่งเรือเหาะมาช่วยเหลือจนชนะ
11.เจ้าแก้วก็แปลงร่างกลับเป็นนางแก้วมณีอุ้มลูกคือ พระปิ่นแก้วมาดักพระปิ่นทองที่เมือง
12.พระปิ่นทองจึงไล่แก้วหน้าม้าและลูกให้ไปอยู่ท้ายวัง หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดศึกท้าวประกายมาศพญายักษ์มาตีเมืองมิถิลา
13.สร้อยสุวรรณ จันทร์สุดาจึงออกอุบายให้ท้าวภูวดลมาขอร้องนางแก้วมณีให้ไปช่วย แก้วหน้าม้าจึงแปลงกายเป็นเจ้าแก้วออกรบจนชนะ พระปิ่นทองจึงรู้ความจริงและงอนง้อขอคืนดีกับแก้วหน้าม้า
การปิดเรื่อง
ปิดเรื่องด้วยการ คลี่คลายปมคือ พระปิ่นทองได้รู้ความจริงทุกอย่างว่าหญิงสาวแสนสวยชื่อมณีรัตนา และเจ้าแก้วที่นั่งเรือเหาะมาช่วยเหลือตนจากยักษ์คือคนเดียวกันกับนางแก้วหน้าม้า
2.4ตัวละคร
ตัวะครหลัก
1. แก้วหน้าม้า (แก้วมณี) ขณะที่หน้าเป็นม้าอยู่ นิสัย ร่าเริง กระโดกกระเดก เป็นที่รักของทุกคน ยกเว้นพระปิ่นทอง กับ ท้าวภูวดล
2. ปิ่นทอง ลักษณะนิสัยค่อนข้างเอาแต่ใจตัวเอง เจ้าเล่ห์
3. ท้าวภูวดล เป็นบิดาพระปิ่นทอง หน้าตาโหดเหี้ยมแต่เกรงใจเมียเป็นที่สุด
4. พระนางนันทา มารดาพระปิ่นทอง ใจดี โอบอ้อมอารี เป็นที่เกรงใจของสามี
5. ฤาษี ฤๅษีที่คอยช่วยเหลือแก้ว เวลาว่างชอบเสกของวิเศษ
ตัวละครรอง
1. ยักษ์ประกายกรด 2. ยักษ์พาละราช มีลักษณะนิสัยชอบการกินเป็นที่สุด
3. เสนา ที่คอยติดตามพระปิ่นทอง
4. นางทัศมาลี บุตรธิดาแห่งเมืองโรมวถีนครราช
5. ตา ยาย ที่แก้วไปขออาศัยอยู่ด้วยตอนนางแอบเดินทางตามพระปิ่นทอง
6. นางเทพมาลี นางแจ่มจันทร์ และนางสร้อยสุวรรณ ทั้ง3เป็นเมียของพระปิ่นทอง
7. ปิ่นแก้ว ลูกของพระปิ่นทองกับแก้วมณี
8. แจ่มจันทร์ หิรัญญาและประภัสสร ลูกสาวแก้วหน้าม้ากับพระปิ่นทอง
9. พ่อ แม่ ของแก้วหน้าม้า (ไม่ปรากฏชื่อ)
2.1ภาษา
วรรณกรรมเรื่องแก้วหน้าม้าเล่มนี้ ภาษาจะแต่งเป็นคำกลอนโบราณอีสาน ฉันทลักษณ์ที่ใช้จะเป็นภาษาอีสาน คล้ายการแต่งร่าย มีสัมผัสสระและพยัญชนะเพื่อทำให้เกิดความคล้องจอง มีสำนวนเฉพาะถิ่นมีความไพเราะเน้นให้เห็นถึงอารมรณ์ ความรัก ความตลกขบขันและความสนุกสนาน เหมาะแก่นักอ่านทั่วไป นิทานท้าวแก้วหน้าม้าเป็นหนังสือที่มีโวหารสำนวนไพเราะยิ่งหนังสือเล่มนี้ สำหรับอ่านเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2.2 ฉาก/สถานที่
ฉากหลักของเรื่อง
1.เมืองมิถิลา เมืองของพระปิ่นทอง เช่นตอนที่ว่าวของพระปิ่นทองหลุดไป ทำให้พบกับแก้วหน้าม้า
2.พระราชวังเมืองมิถิลา เป็นสถานที่สำคัญของเรื่องเช่น ตอนแก้วหน้าม้ามาทวงคำสัญญาจากพระปิ่นทอง เป็นต้น
3. เมืองไกรจักรนคร เมืองของยักษ์พาละราช เป็นตอนที่แก้วไปช่วยพระปิ่นทองแล้วสู้รบกันกับยักษ์พาละราช จนได้พาละราชถึงแความตาย
ฉากรองของเรื่อง
1. กระท่อม ของตายาย แก้วเคยขออาศัยตอนถอดหน้าม้าออกเป็นสาวงาม เป็นฉากที่พระปิ่นทองได้เสียกับแก้วมณี
2. ทะเล เป็นฉากตอนที่ยักษ์พาละราชขวางทางพระปิ่นทองไว้
3. เมืองไกรจักรนคร เมืองของยักษ์พาละราช
4. เมืองโรมวถีนคร เป็นเมืองของนางทัศมาลี
5. เรือนของแก้วหน้าม้า เป็นที่อยู่ของแก้วตั้งแต่เกิด
6. ป่า เป็นสถาที่อยู่ของพระฤาษี ที่คอยช่วยเหลือแก้วมณี
3. ความโดดเด่นของนิทาน เรื่อง แก้วหน้าม้า
วรรณกรรมท้องถิ่น นิทานเรื่องแก้วหน้าม้าเล่มนี้ ผู้แต่งคือ อ.กวีวงศ์ ได้แต่งโดยเรียบเรียงเนื้อหาเป็นบทร้องแก้วที่สละสลวย ใช้สำนวนภาษาถิ่นอีสานสที่มีความเป็นเอกลักษณ์ คำศัพท์ภาษาถิ่นมีความเป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น
สำหรับนิทานเรื่องนี้เราจะจำ ที่เด่น ๆ ที่อ่านและฟังเราก็มักจะจำตัวนางเอกของเรื่องที่แตกต่างไปจากนิทานเรื่องอื่น คือนางแก้วหน้าม้าในมาดของหญิงสาวชาวบ้านธรรมดาที่ มีหน้าตาที่แปลกประหลาด เกิดมามีใบหน้าเป็นเหมือนม้า มีลักษณะนิสัยห้าวๆ กระโดก กระเดกเป็นม้าดีดกะโหลก แต่ก็มีจิตใจดี เป็นที่รักของผู้คน และนอกจากนี้นางยังมีอีกหนึ่งใบหน้าที่สวยงามราวกับนางฟ้าที่ชื่อว่าแก้วมณี และนางยังมีของวิเศษคู่กาย 2อย่าง นั่นก็คือ เรือเหาะ กับมีดอีโต้ที่นางได้จากพระฤาษี นิทานเรื่องนี้ จุดเด่นอยู่ที่ตัวนางแก้ว เนื้อเรื่องมีความตลกขบขัน สนุกสนาน มีการต่อสู้เพื่อให้เห็นถึงความใจกล้าของนางแก้วหน้าม้า ที่จะทำให้ผู้อ่านสนุกสนานไปกับเรื่องราว และถ้อยคำสำนวนการเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วที่เป็นภาษาอีสาน
4 การนำไปประยุกต์ใช้ที่ผ่านมา
การนำวรรณกรรมไปใช้ในปัจจุบัน
1.ฉบับภาพยนตร์
แก้วหน้าม้า ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 ซึ่งนำแสดงโดยปริญญา มิตรสุวรรณ และปริศนา วงศ์ศิริ อำนวยการสร้างโดยอดิศักดิ์ รัตนศักดิ์วิบูลย์ กำกับการแสดงโดยมานพ สัมมาบัติ แก้วหน้าม้า
(ตัวอย่างภาพประกอบ จากภาพยนตร์)
แก้วหน้าม้า 2521
"แก้วหน้าม้า 2521" เป็น "ภาพยนตร์โทรทัศน์" ไม่ใช่ "ละครโทรทัศน์" เพราะสมัยนั้นดาราฟิล์ม (ดาราวีดีโอ) ยังผลิตเป็นระบบภาพยนตร์โทรทัศน์ ถ่ายด้วยกล้องฟิล์ม 16 มม. ใช้เสียงพากย์ ยังไม่ได้ใช้เสียงจริงของนักแสดง จึงเรียกว่า “ภาพยนตร์ไทยชุดแก้วหน้าม้า”
ภาพยนตร์โทรทัศน์จะออกอากาศเป็นตอน ๆ เหมือนละครโทรทัศน์เช่นกัน สำหรับ ภ.ไทยชุด "แก้วหน้า 2521" อากาศทุกวันจันทร์ เวลา 20.30- 21.00 หลังข่าวภาคค่ำ ทางช่อง 7 สี ออกอากาศแค่ตอนละ 30 นาที
2.ฉบับละครพื้นบ้าน (แก้ไขต้นฉบับ)
แก้วหน้าม้าได้นำมาสร้างเป็นละครพื้นบ้านในอีกหลายครั้ง โดยมีการสร้างทั้งหมด 5 ครั้ง ประกอบไปด้วย
ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2530 นำแสดงโดยชาตรี ภิญโญ กับสินี หงษ์มานพ
ครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2544 โดยครั้งที่ 2 ออกอากาศทางช่อง 3 นำแสดงโดย อติเทพ ชดช้อย และ นฤมล พงษ์สุภาพ
ครั้งที่ 3 ในปี 2544 เช่นเดียวกับครั้งที่ 2 แต่ออกอากาศทางช่อง 7 นำแสดงโดยไชยา มิตรชัย , สิริมา อภิรัตนพันธุ์ , หยาดทิพย์ ราชปาล ผลิตโดยสามเศียร
ครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2558 ออกอากาศทางช่อง 7 นำแสดงโดย เอกราช กฤตสิริทิพย์ , ดาริน ดารากานต์ รวมทั้งสิ้น102ตอน ผลิตโดยบริษัท สามเศียร
ครั้งที่ 5 ในปี 2558 เช่นเดียวกับครั้งที่ 4 แต่ออกอากาศทางช่องไทยทีวี นำแสดงโดย ไชยวัฒน์ ผายสุวรรณ , ปุณฐิภาภัคร์ สุวรรณราช ผลิตโดยบริษัท ไอพีเอ็ม โปรดักชั่น จำกัด
( ที่มา : https://pantip.com/topic/33658)
3.แก้วหน้าม้าฉบับการ์ตูน
พอเรื่องแก้วหน้าม้า 2521” ประสบความสำเร็จทางทีวีอย่างมาก
สำนักพิมพ์บันลือสาสน์ก็ เลยนำแก้วหน้าม้ามาทำเป็นการ์ตูนวาดภาพและเรื่องโดยครูทวี วิษณุกร ออกมาขายเล่มละ
5 บาทด้วย ความยาวประมาณ 40 เล่มจบ ผลก็คือขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพื่อน ๆ
ของผมสมัยนั้นชอบเอาไปอวดที่โรงเรียนเป็นประจำ
4. การนำเอาวรรณกรรมแก้วหน้าม้า ไปสร้างเป็นการ์ตูน
มีการนำไปสร้างหลากหลายเวอร์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนช่อง3 ,การ์ตูนเต็มเรื่อง ,การ์ตูนเป็นตอน
( ที่มาhttps://www.google.co.th/search)
5.หนังสือเสียง และเป็นนิทานก่อนนอน
สำหรับคนตาบอดและสายตาเลือนราง, คนพิการทางการเรียนรู้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์ได้ หรือได้ก็ด้วยความยากลำบาก,ผู้สูงอายุจำนวนมากทั่วโลกที่มีการเห็นน้อยลง บุคคลทั่วไปที่สนใจการอ่านหนังสือผ่านสื่อ มีการจัดทำเป็นหนังสือเสียง เผยแพร่เมื่อ 7 ก.ย. 2016
จากหนังสือวรรณคดีก่อนนอน ชุด CARTOONS LEARNING BY SKY BOOK
( ที่มา https://www.youtube.com/watch? )
6.นำไปสร้างเป็นเพลง แก้วหน้าม้า ประกอบละครพื้นบ้าน
7.นำไปทำเป็นหนังสือนิทานสำหรับเด็ก
8.นำไปประยุกต์สร้างเป็นรายการบันเทิง
แผนภาพอินโฟกราฟฟิก
นางสาว สุธาสินี ใครบุตร ปี3 หมู่ 1
รหัส 57210406129